วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

บทความที่เกี่ยวกับการเขียนต่างๆ (บทความวิชาการ)

บทความวิชาการ

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Management of Basic Educational Institutes
under Educational Service Area Office

เยาวลักษณ์สุนนนามและผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิรมิตคุณานุวัฒน์ดร.ภวนาเผ่าน้อย
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามเพศอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การสอนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสำรวจระดับปฏิบัติงาน การจัดการศึกษาของประชากรซึ่งประกอบด้วยบุคลากรครูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 55 แห่งจำนวน 643 คน และใช้หลักการทาโรยามาเนที่ค่าความคาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 247 คนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้สัดส่วนและการจับสลากโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าทดสอบทีการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย LSD (Least Significant Difference)
                ผลการวิจัยพบว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อคือด้านการบริหารงานทั่วไปและอยู่ในระดับมากจำนวน 3 ข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ลำดับที่ 1 คือด้านงบประมาณลำดับที่ 2 คือด้านบุคคลและลำดับสุดท้ายคือ ด้านวิชาการการทดสอบสมมติฐานพบว่าบุคลากรครูที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับการปฏิบัติงานด้านวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกันบุคลากรครูที่มีอายุและประสบการณ์การสอนแตกต่างกันมีระดับการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้านคือด้านวิชาการด้านบุคคลด้านงบประมาณและด้านการบริหารงานทั่วไปไม่แตกต่างกันและบุคลากรครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันระดับการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านบุคคลด้านงบประมาณและด้านการบริหารงานทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
คำสำคัญ: การจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


บทนำ
                ยุคโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดปัญหา และปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีความสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน และมีความหลากหลาย ซึ่งแต่ละท้องถิ่นปัญหาเดียวกัน แต่ผลกระทบของปัญหาอาจจะไม่เท่ากัน ท่ามกลางวิกฤตปัญหาต่างๆประเทศไทยได้มีความพยายามจะแก้ปัญหาของชาติด้วยการปฏิรูปการศึกษาหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จระบบการศึกษาไทยล้าสมัยไม่สร้างพลังทางปัญญาให้คนไทยเต็มศักยภาพของคนเป็นเหตุให้ชาติอ่อนแอทางปัญญา และเป็นระบบการศึกษาที่ก่อความทุกข์ยากให้แก่ผู้คนทั้งประเทศจนกระทั่งมีการลี้ภัยทางการศึกษา คือการที่มีคนที่มีความสามารถส่งลูกหลานของตนไปศึกษาที่อื่นที่เชื่อว่าเป็นการศึกษาที่ดีกว่าในประเทศทำไมเราไม่สร้างระบบการศึกษาที่ดีทัดเทียม หรือดีกว่าการศึกษาที่มีอยู่ในต่างประเทศนี่คือโจทย์ใหญ่ที่สุดที่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันตีให้แตก และทำให้ได้ถ้าเราไม่ปฏิรูปหรือปฏิวัติการศึกษาไทยคนไทยจะไม่พ้น จากความทุกข์ยากและวิกฤตการณ์นานาประการที่จะทับถมมากขึ้นทั้งเศรษฐกิจการเมืองสังคมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ (ธีระรุญเจริญ, 2545, หน้า 8)
                การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมา การจัดการศึกษายังรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์ส่วนกลางอย่างสูง (Highly Centralized Bureaucracy)  ตามระบบการบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันโรงเรียนเป็นนิติบุคคล แต่แท้ที่จริงแล้วการปฏิบัติงานในโรงเรียนยังต้องบริหารจัดการศึกษาตามคำสั่งกระทรวงโรงเรียนไม่สามารถสร้างแผนยุทธศาสตร์ ที่จากความต้องการของชุมชนได้ปัญหาอุปสรรคของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขโดยจำแนกเป็นด้านต่างๆได้ดังนี้
                ด้านวิชาการกระบวนการจัดการเรียนการสอน   ไม่สอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดเป็นทำเป็นประยุกต์เป็นยังใช้การสอนแบบท่องจำหลักทฤษฎีหลักการ    ไม่สอดคล้องกับความต้องการไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะพยายามจะเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง        แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  เนื่องจากตั้งแต่อดีตครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นครูเป็นหลักมาโดยตลอดและหลักสูตรล้าสมัยและขาดคุณภาพ 3 เนื้อหาสาระ   ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างเป็นระบบไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสำนึกรักษ์ท้องถิ่นภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นขาดคุณธรรมจริยธรรมเป็นผลก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมตามมายังไม่สิ้นสุด
                ด้านบุคคลการเตรียมและผลิตบุคลากรครูไม่ทันกับกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงผลิตบุคลากรในมิติแคบ
ด้านเดียวไม่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ได้ดีเท่าที่ควรครูขาดคุณภาพ    อันเนื่องมาจากขาดระบบการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งคนดีมาเป็นครูเพราะค่าตอบแทนไม่พอกับค่าครองชีพปัจจุบันครูจำนวนมากมีวัฒนธรรมเฉื่อยชามีหนี้สิ้นจำนวนมากและยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่ขาดบุคลากรครู
                ด้านงบประมาณ โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอที่จะดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดและไม่สามารถจัดหางบประมาณเพิ่มเติม และบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงบดุลบัญชี และการรายงาน
                ด้านการบริหารงานทั่วไปชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขาดการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรมของโรงเรียนระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศการจัดระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษาไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควร
                 สภาพการณ์ และปัญหาการปฏิรูปการศึกษาทั้งปวงข้างต้นนำมาสู่การตราพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นพุทธศักราช 2542 ซึ่งออกตามความแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้รัฐต้องถ่ายโอนภารกิจบริการสาธารณะที่ซ้ำซ้อน หรือที่รัฐจัดในพื้นที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติการศึกษาได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถขอรับการถ่ายโอนสถานศึกษาหรือจัดการศึกษาได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของท้องถิ่น (สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร, 2548, หน้า 1) มีองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่ไม่ต้องการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน และเป็นภาระระยะยาวไม่เห็นผลทันตาไม่ให้ผลทางการเมืองที่ต้องการผลตอบแทนโดยเร็วแต่แท้ที่จริงแล้วการลงทุนด้านการศึกษาเป็นภาระสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่องค์กรปกครองท้องถิ่นจะต้องเร่งดำเนินการ และนอกเหนือจากงบประมาณที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเติมลงไปมากเท่าใดจะก่อสร้างอาคารเรียนใหญ่โตขนาดไหน แต่ถ้าไม่เคยใส่ใจลงไปดูปัญหาก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร การจัดการศึกษาก็ไม่สามารถที่จะเจริญงอกงามได้ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2551, หน้า 71)
                เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น   ตั้งแต่การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้านคือด้านวิชาการ
ด้านบุคคลด้านงบประมาณ และด้านการบริหารทั่วไปที่มีการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องควรจะบริหารจัดการการศึกษาอย่างไรให้มีคุณภาพ ในฐานะผู้ศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล) จึงสนใจวิจัยการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อนำข้อมูลไปจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นเตรียม ความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียนก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา
เขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาทั้ง 4 ด้านคือด้านวิชาการด้านบุคคลด้านงบประมาณและด้านการบริหารทั่วไปโดยจำแนกตาม เพศอายุระดับการศึกษาและประการณ์การสอน

วิธีการวิจัย
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาทั้ง 4 ด้านประกอบด้วยด้านวิชาการ
ด้านงบประมาณด้านบุคคลและด้านการบริหารทั่วไปเป็นการวิจัยเชิงสำรวจระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรครูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาในปีการศึกษา 2550 จำนวน 55 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 643 คน
                2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการกำหนดขนาดโดยใช้หลักการของทาโร่ยามาเน (Taro Yamane) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 247 คนต่อจากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากรโดยใช้สัดส่วนระหว่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างและการจับสลาก

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                แบบสอบถามระดับการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาเป็นแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับคือมากที่สุดมากปานกลางน้อยน้อยที่สุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้
                ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับเพศอายุระดับการศึกษาและ
ประสบการณ์การสอน
                ตอนที่ 2 การจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาทั้ง 4 ด้านคือด้านวิชาการด้านบุคคลด้านงบประมาณและด้านการบริหารงานทั่วไปจำนวน 32 ข้อได้แก่
- ด้านวิชาการจำนวน 8 ข้อ
- ด้านบุคคลจำนวน 9 ข้อ
- ด้านงบประมาณจำนวน 5 ข้อ
- ด้านการบริหารงานทั่วไปจำนวน 10 ข้อ
                ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .92

วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล
                ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยขอความร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพบบุคลากรครูซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแล้วดำเนินการแจกแบบสอบถามและรอรับแบบสอบถามคืนจำนวน 247 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 100

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การประมวลผล   โดยโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลกำหนดระดับ
การปฏิบัติงานการจัดการศึกษาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แล้วแปลผลข้อมูลจากคะแนนเฉลี่ย โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่มีช่วงชั้น (Class Interval) เท่ากัน
                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าทดสอบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Different)

ผลการวิจัย
                การจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .64 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการบริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาเป็นด้านงบประมาณด้านบุคคล และลำดับสุดท้ายคือด้านวิชาการรายละเอียดดังตารางที่ 4

สรุปผลการวิจัย
                บุคลากรครูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 67.20 มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปีคิดเป็นร้อยละ 46.55 มีการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 85.82 และมีประสบการณ์การสอนมากกว่า 20 ปีคิดเป็นร้อยละ 70.04
                การจัดการศึกษาของสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่นครราชสีมาเขต 4 ในเขตอำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการบริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุดเป็น ลำดับที่ 1 รองลงมาเป็นด้านงบประมาณด้านบุคคลและลำดับสุดท้ายคือด้านวิชาการ


ผลการทดสอบสมมติฐาน
                พบว่าบุคลากรครูที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติงานจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของจุรีอุไรวัฒนา (2548) เรื่องการศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 เขต 2 พบว่าสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 เขต 2 ตามความคิดเห็นของบุคลากรจำแนกตามเพศไม่แตกต่าง
                บุคลากรครูที่มีอายุและประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติงานจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของเกษมคำศรี (2547) ได้ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูจำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีพบว่าโดยรวมไม่แตกต่างแตกต่างกัน
                บุคลากรครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติงานจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของจุรีอุไรวัฒนา (2548) เรื่องการศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 เขต 2 พบว่าเมื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 เขต 2 ตามความคิดเห็นบุคลากรจำแนกตามระดับการศึกษาภาพรวมมีความคิดเห็นทั้ง 3 ด้านคือด้านการบริหารงานวิชาการด้านการบริหารงานงบประมาณและด้านการบริหารทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่สอดคล้องกับด้านการบริหารงานบุคคลเพราะบุคลากรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
                1. ด้านวิชาการการจัดสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอกับความ
ต้องการมีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้ายจึงควรปรับปรุงพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่จำเป็นและทันสมัย เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าเทียมนักเรียนในโรงเรียนอื่น สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการสัมมนาบุคลากรครูให้สามารถใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้พัฒนาความรู้ได้เต็มศักยภาพ
                2. ด้านบุคคลการวางแผนเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอกับปริมาณนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้ายจึงควรให้สถานศึกษาวางแผนขออนุมัติอัตรากำลังให้สอดคล้องกับความต้องการและโดยเฉพาะตำแหน่งที่เกษียณอายุราชการแล้วควรมีการวางแผนขออัตรากำลังทดแทนจึงสามารถลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครู
                3. ด้านงบประมาณการจัดหารายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในการจัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้ายจึงควรจัดหารายได้เพิ่มเติมเช่นการทำผ้าป่าเพื่อการศึกษาและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
                4. ด้านการบริหารงานทั่วไปการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของโรงเรียนทั้งภายในโรงเรียน และชุมชนเป็นอันดับสุดท้ายจึงควรปรับปรุงระบบสารสนเทศการสร้างเว็บไซต์ของโรงเรียนบนระบบเครือข่าย สารสนเทศทางโรงเรียนจัดให้มีป้ายนิเทศหน้าโรงเรียนจัดหาครูฝ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน และผู้ปกครอง

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
                1) ศึกษาผลกระทบที่มีต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถ่ายโอนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                2) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้การบริหารจัดการการศึกษาด้านวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กิตติกรรมประกาศ
                วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านอาจารย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.นิรมิตคุณาวัฒน์และดร.ภวนาเผ่าน้อยอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาแนะนำตรวจปรับแก้ไข
ข้อบกพร่องต่างๆของวิทยานิพนธ์พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์สามารถนำมาประมวลเป็นความรู้ในการทำวิทยานิพนธ์ให้มีความถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมาณโอกาสนี้
                ขอขอบพระคุณกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่มอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้วิจัยและขอบคุณคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทางด้านการศึกษาและการปฏิบัติผ่านอาจารย์ประจำวิชาจากภาควิชาต่างๆเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถนำความรู้ประสบการณ์มาปรับใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลางขอขอบคุณเพื่อนร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตที่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำและเป็นกำลังใจในการทำวิทยานิพนธ์ขอบคุณองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางบุคลากรครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 อำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมาและขอขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่พี่น้องและญาติๆที่คอยให้การสนับสนุนให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจที่สำคัญยิ่งในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้
                ท้ายที่สุดนี้ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการทำวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองท้องถิ่นต่อไป

เอกสารอ้างอิง
การศึกษา, สำนักงานกรุงเทพมหานคร. (2548). การถ่ายโอนสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : อิมเมจพูล. เกษมคำศรี. (2547). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
                จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542 และที่แก้ไข
                เพิ่มเติม (ฉบับที่2) .. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. จุรีอุไรวัฒนา. (2548). การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงาน
                พื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต1 และเขต2. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยสาขาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. ธีระรุญเจริญ. (2545) .สภาพและปัญหาการบริหารการจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศ
                ไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรีกรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.ปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)
                พ.. 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. (2551). รายงานสรุปผลการเสวนาและนิทรรศการการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ : เอ็ดดูมีเดียคอร์ปเรชั่น (ประเทศไทย).__



บทความวิชาการ

                ปัจจุบัน ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับปัญหาที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยตระหนักว่า สิ่งแวดล้อมดีหรือไม่ดีล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนพลโลกกันถ้วนหน้า
          
ในประเทศไทย
เอง ...เรื่องราวของการตรวจสอบมลพิษในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก็กำลังเข้มข้น เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
                  ในระดับโลก...ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันมีสาเหตุจากปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการสำคัญ ก็กำลังได้รับความสนใจยิ่ง 
                เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาย้ำว่า คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change, IPCC) กำลังประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อตรวจ (ร่าง)รายงานว่าด้วยเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 นี้
              
รายงานดังกล่าว รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 130 ประเทศ โดยใช้เวลาในการรวบรวมถึง 6 ปี
               
เนื้อหาเด่นของรายงานระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90 เปอร์เซนต์ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเมื่อ 6 ปี ที่แล้ว รายงานระบุความเป็นไปได้อยู่ที่ 66 เปอร์เซ็นต์(สรุปก็คือ รายงานได้เพิ่มความน่าเชื่อถือว่ามนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน)
                ในรายงาน ยังได้นำเสนอผลการประเมินแนวโน้มที่ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.0-4.5 องศาเซลเซียส
 
             แม้หลายประเทศที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศไทยสัมผัสอากาศร้อนจนเคยชิน คนไทยหลายคนจึงไม่ค่อยตื่นตัวว่า “อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่กี่องศาที่เพิ่มขึ้นนั้น จะกระทบกับกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นอย่างไร?” แต่หลักฐานผลการวิจัยของปัญหาอันอาจมีสาเหตุจากโลกร้อนหลายชิ้นทั่วโลก ที่ทยอยเผยแพร่ออกมาในช่วง 2 –3 ปีที่ผ่านมา เช่น 
                - พืชอย่างดอกเชอร์รี่ และองุ่น ออกดอกและผลเร็วกว่าปกติ
                - เพนกวินจักรพรรดิในทวีปแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้ มีจำนวนคู่ผสมพันธุ์ลดลงจาก 300 คู่ เหลือเพียง 9 คู่
            - 
องค์การ อนามัยโลกได้สำรวจการแพร่ระบาดของมาลาเรียในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปใน ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่ามาลาเรียได้ขยายวงจากสามประเทศ ไปถึงรัสเซียกับอีก 6 ประเทศใกล้เคียงและอีกหลายๆ ผลการวิจัย [น้ำท่วม คลื่นความร้อนสูง พื้นที่แห้งแล้ง ภูเขาน้ำแข็งละลาย (ที่กระทบต่อปริมาณน้ำทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง) ฯลฯ] ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมกันของประเทศไทยกับประเทศอื่นทั่วโลก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น