วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

บทความที่เกี่ยวกับการเขียนต่างๆ (บทความประเภทคำแนะนำ )

บทความประเภทคำแนะนำ 

ชนิดของเครื่องชงกาแฟ

1. การชงแบบ French Press 



เป็นวิธีการชงที่มีต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส  การชงแบบนี้เราเห็นได้ง่ายกว่าการชงแบบแรก วิธีชงก็ง่าย แค่เลือกกาแฟที่ต้องการใส่ลงในแก้วชง  จากเทน้ำร้อนใส่ในแก้วที่มีก้าน รอประมาณ 4-5 นาที ก็กดก้านดันกากกาแฟให้ไปอยู่ก้นแก้ว  รินกาแฟเติมนม  ครีมหรือน้ำตาลตามชอบ  วิธีนี้เป็นการชงที่สะดวกสบาย ง่าย ไม่เปลืองไฟฟ้า แต่เหมาะสำหรับการดื่มแค่ 1-2 คนเท่านั้น

คำแนะนำในการชง อุ่นอุปกรณ์ด้วยน้ำร้อน ตวงกาแฟบดประมาณ 10 - 12 กรัม ( ต่อกาแฟ 1 ถ้วย )  ลงในภาชนะ เติมน้ำร้อนเกือบเดือดประมาณ 200 - 240 มล.  ลงบนกาแฟและคน  ทิ้งไว้ประมาณ 4 นาที จากนั้นค่อย ๆ กดก้านกรองของภาชนะจนสุด รินดื่มได้ทันที

2. การชงกาแฟแบบ Drip 



ซึ่งแยกได้เป็นแบบที่ใช้เครื่องกับแบบที่ไม่ใช้เครื่อง  วิธีนี้จะนำกาแฟที่คั่วบดเรียบร้อยแล้วมาเทใส่กระดาษกรอง แล้วปล่อยให้น้ำร้อนไหลผ่านกาแฟแล้วค่อยๆ หยดลงมาสู่โถรับกาแฟด้านล่าง  จากนั้นจึงนำไปเสิร์ฟวิธีนี้จะเห็นได้บ่อยตามร้านอาหารที่มีเมนูกาแฟร้อนให้ทานตบ  หรือเวลาไปสัมมนาตามโรงแรม  ข้อดีคือสะดวก เหมาะสำหรับการเสิร์ฟกับปริมาณคนมากๆ  แต่ก็มีข้อเสียคือ จะได้กาแฟที่มีความเข้มน้อย  กลิ่นและความมันจะถูกกระดาษกรองดูดซึมไว้จนเสียรสชาติไป

คำแนะนำในการชง สำหรับกาแฟ 1 ถ้วย  :  ตวงกาแฟบดประมาณ 10 - 12 กรัม  ลงในกรวยกรอง หรือกระดาษกรอง  เติมน้ำสะอาดเย็นประมาณ 200 - 240 มล.  ลงในกระบอกน้ำหลังเครื่อง  เปิดสวิทซ์และรอให้น้ำหยดผ่านกาแฟจนหมด รินดื่มได้ทันที (ไม่ควรตั้งเหยือกกาแฟไว้บนจานอุ่น นานเกิน 20 นาที)

 3.การชงกาแฟโดยใช้เครื่อง Espresso Machine 



วิธีนี้เป็นวิธีที่ร้านกาแฟนิยมใช้มากที่สุด  เป็นการใช้ทั้งน้ำและไออัดผ่านเมล็ดกาแฟที่คั่วบดแล้วอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้กาแฟเอสเพรสโซ่สีทองที่ส่งกลิ่นหอมไปทั่วร้าน  เครื่องชงกาแฟแบบนี้มักมาพร้อมกับที่อุ่นนมและทำฟองนม ข้อดีคือถ่ายทอดรสชาติและจุดเด่นของกาแฟแต่ละชนิดออกมาได้ดีที่สุด  แต่ก็มีข้อเสียก็คือราคาสูงมากๆ เริ่มต้นที่หลักหมื่นและอาจจะไปจบที่หลักล้านก็ได้...

คำแนะนำในการชง
ตวงกาแฟบดละเอียดประมาณ 7 กรัม  สำหรับการทำหัวกาแฟเข้มข้น 1 ออนซ์  โดยใช้เวลาสกัดประมาณ 18 - 25 วินาที






ยาที่รับประทานก่อนอาหาร
         
ควรรับประทานก่อนอาหาร 1/2 -1 ชั่วโมง เนื่องจากอาหารอาจลดการดูดซึม หรือยับยั้งให้ยาบางชนิดออกฤทธิ์น้อยลง เช่น ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ ยาบางอย่างต้องการให้ออกฤทธิ์ก่อนอาหารเพื่อผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ยาแก้อาเจียน หรือในกรณียาเบาหวานบางชนิดที่ต้องรับประทานก่อนอาหารเพื่อให้การดูดซึมและการออกฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับการลดระดับน้ำตาลในเลือด
ยาที่รับประทานหลังอาหาร
         
โดยทั่วไปควรรับประทานหลังอาหาร 15 – 30 นาที ยกเว้น ยาที่ระบุให้รับประทานหลังอาหารทันที
ยาที่รับประทานหลังอาหารทันที หรือ พร้อมอาหาร
         
ยาบางชนิดทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ การรับประทานหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหารเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เช่น Prednisolone , Aspirin เป็นต้น หรือในกรณียาเบาหวานบางชนิดรับประทานพร้อมอาหารเพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล
ยาที่ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ
         
เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ยาแก้ไอ , ยาแก้ไข้ , ยาแก้ท้องเสีย แพทย์อาจสั่งให้รับประทานเป็นช่วง ๆ เช่น ทุก 4 ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่อมีอาการทุเลาลงจึงหยุดยาได้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อเนื่อง
ยาที่ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ
         
ยาพวก ซัลฟา ละลายน้ำได้น้อยมากอาจตกตะกอนในไต การดื่มน้ำตามมาก ๆ จะช่วยเพิ่มการละลายน้ำได้ หรือยาถ่ายที่ทำให้เพิ่มกากอุจจาระ หรือที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ควรดื่มน้ำตามมากๆ
ยาที่ห้ามรับประทานร่วมกับเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
         
เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด , ยาลดน้ำตาลในเลือด, ยาระงับประสาท , ยานอนหลับ , ยาแก้ปวด หรือ ยากดประสาทต่าง ๆ ตลอดจนยาแก้แพ้ จะเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอันตรายได้
ยาที่ไม่ควรกินพร้อมกับยาลดกรดและห้ามเคี้ยว            ยาเม็ดเคลือบ เช่น Bisacodyl , Diclofenac เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไป
ยาที่มีอันตรายควรแนะนำเพิ่ม
         
เช่น Fosamax
          • 
ควรรับประทานยานี้พร้อมน้ำเปล่า 1 แก้วเต็มก่อนอาหารเช้าอย่างน้อย ครึ่ง ชั่วโมง
          •
ไม่ควรรับประทานยานี้พร้อมกับเครื่องดื่มใด ๆ เช่น ชา , กาแฟ , นม และยาอื่น
          •
ห้ามนั่งเอนตัวหรือนอนอย่างน้อย 30 นาที จนกว่าจะรับประทานอาหารเช้า
          •
ไม่ควรรับประทานยาก่อนนอน หรือ ขณะนอนอยู่
ยาที่รับประทานแล้วทำให้ง่วงซึม
         
เช่น ยาแก้แพ้ , ยานอนหลับ , ยาแก้ปวดบางชนิด อาจทำให้ง่วงนอนหรือมึนงง ผู้ใช้ยาควรระวังในการขับรถหรือใช้เครื่องจักรกล
ยาที่รับประทานแล้วปัสสาวะจะมีสีส้มแดง
         
เช่น ยาพวก Phenazopyridine ทำให้ปัสสาวะมีสีแดงอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเลือด แต่แท้จริงเป็นสีจากยา หรือยา Rifampicin ทำให้น้ำลาย น้ำตา ปัสสาวะมีสีส้มแดง
ยาที่ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนแล้วดื่มน้ำตาม
         
ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือยาถ่ายพยาธิบางชนิด ต้องเคี้ยวก่อนเพื่อให้ยากระจายตัวในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
ยาที่ไม่ควรกินเกิน 6 เม็ด
          
ภายใน 24 ชม. หรือไม่ควรกินเกิน 10 เม็ด ภายในหนึ่งสัปดาห์
ยารักษาไมเกรน เช่น Cafergot
ยาที่ใช้อมใต้ลิ้น เช่น Isosorbide dinitrate
ยาที่ต้องละลายหรือผสมยาในน้ำก่อนรับประทาน
          • 
ผงเกลือแร่ ORS
          •
ยาละลายเสมหะ เช่น Fluimucil
          •
ยาระบาย เช่น Metamucil
          •
ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เช่น Eno
ยาที่ห้ามเคี้ยว
          - รูปแบบยาเม็ดเคลือบ เช่น Diclofenac
          -
รูปแบบยาออกฤทธิ์เนิ่น เช่น Theophylline เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
          
ยาที่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง
          
โดยทั่วไปหมายถึงการเก็บที่อุณหภูมิ 2 – 8 C* ( แช่ในช่องธรรมดาไม่ต้องใส่ในช่องทำน้ำแข็ง ) หรือเก็บในกระติกน้ำแข็งตลอดเวลา ใช้สำหรับยาที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้อง เช่น ยาอินซูลิน วัคซีน หรือยาหยอดตาบางชนิด
ข้อแนะนำวิธีการใช้ยาเหน็บทวารหนัก
          • ล้างมือให้สะอาด
          •
ถ้ายาเหน็บนิ่มให้แช่ยาในตู้เย็นก่อนหรือแช่ในน้ำเย็นก็ได้เพื่อยาเข็งตัวและสอดได้ง่ายขึ้น
          •
แกะยาออกจากกระดาษห่อ
          •
นอนตะแคงโดยให้ขาล่างเหยียดตรงและงอขาข้างบนขึ้นจนหัวเข่าจรดกับหน้าอก
          •
สอดยาเหน็บเข้าไปในทวารหนักโดยเอาด้านที่มีปลายแหลมกว่าเข้าไปก่อนโดยใช้นิ้วดันยาเข้าไปอย่างช้า ๆ และเบา ๆ พยายามสอดให้ลึกที่สุดเพื่อไม่ให้ยาเหน็บไหลออกมา
          •
นอนในท่าเดิมสักครู่ประมาณ 15 นาที ถ้าเป็นยาระบายให้นอนท่าเดิม ไม่ต่ำกว่า 15 นาที จึงจะลุกไปถ่ายอุจจาระ
ข้อแนะนำวิธีใช้ยาเหน็บช่องคลอด
          • 
ล้างมือให้สะอาด
          •
แกะยาออกจากกระดาษห่อแล้วจุ่มยาในน้ำสะอาดพอชื้นประมาณ 1-2 วินาที
          •
นอนหงายเอนหลังแต่ไม่ถึงกันนอนราบกับพื้น ชันเข่าขึ้นและแยกขาออก
          •
เหน็บยาเข้าในช่องคลอด.โดยใช้นิ้วช่วยดันยาเข้าไปให้ลึกที่สุดนอนที่เดิมสักครู่ไม่ต่ำกว่า 15 นาที




 อาหารต้านอาการหิวบ่อย

ยุคนี้คนมักกินจุบกินจิบเพราะรู้สึกว่า
ตัวเองหิวอยู่บ่อย ๆ พฤติกรรมที่ว่า
เกิดจากอะไร ลองมาสังเกตตัวเองแล้ว
ปรับเปลี่ยนสักนิดเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าไหมค่ะ
เมื่อกินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมาก
ร่างกายจะผลิตอินซูลินออกมามากเพื่อควบคุม
ระดับน้ำตาลในเลือด และเมื่อระดับน้ำตาลลดลง
อย่างรวดเร็ว ก็รู้สึกอยากกินโน่นกินนี่ขึ้นมาอีก
ขอแนะนำอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามิน
ที่จะมาช่วยลดพฤติกรรมเหล่านี้

1. ข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดขาว 
อุดมไปด้วยโครเมียมที่ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด
ให้คงที่ มีแมกนีเซียมที่ช่วยปรับระดับอินซูลิน
แถมด้วยวิตามินบีที่จำเป็นต่อระบบเมแทบอลิซึม
2. อาหารทะเล 
ลองหันมากินปลา หอย ปลาเล็กปลาน้อยที่มีซีลีเนียม
แมกนีเซียม แคลเซียม และสังกะสี แร่ธาตุเหล่านี้
ช่วยรักษาสมดุลของสารสื่อประสาท ทำให้ไม่หิวบ่อย

3. ถั่ว 
ของกินเล่นช่วยให้อารมณ์ดีที่อุดมด้วยวิตามินบี
และแมกนีเซียม ช่วยในการปรับระดับอินซูลิน
และช่วยการทำงานของระบบประสาท
4. แอ๊ปเปิ้ล 
มีเส้นใยอาหารมาก ทั้งชนิดที่ละลายน้ำได้
และชนิดที่ไม่ละลายน้ำ กินแล้วอยู่ท้อง รสชาติ
ไม่หวานจัด และเป็นผลไม้ที่ดีต่อร่างกายทุกส่วน

5. ลูกพรุน 
อุดมด้วยโครเมียม กินครั้งละน้อย ๆ
จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้
6. ลูกเกด
กินเป็นของว่าง ทำให้ไม่คิดถึงขนมขบเคี้ยว
ลูกเกดมีแมงกานีสที่ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ
พลังงาน ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ
ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่หิวบ่อย
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1142208





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น